วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551

◄Previous activity
หลักสูตร หลักสูตรปริญญาโท หลักสูตรปริญญาเอก ระเบียบ ข้อบังคับ ... แบบฟอร์มการทำวิทฮ.. ข่าวประกาศทั่วไป ம. บัณฑิตศึกษาและกิฮ.. ศัพท์บัญญัติราชบฮ.. ข่าวและประกาศ งานวิจัยของภาคคณฮ.. ช่วยกันเพิ่มคำศัฮ.. ฝากข่าวประกาศได้ฮ.. สโมสรนักศึกษาบัณฮ.. ไปยัง... สถิติประยุกต์และฮ.. คณิตศาสตร์เชิงคำฮ.. อุตุนิยมวิทยาเชิฮ.. อุตุนิยมวิทยาทางฮ.. Fixed Point Theory and Application Lie Group Analysis and Applications
►Next activity
คุณอยู่ที่นี่
หน้าแรก
กระดานเสวนา
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
► "คณิตศาสตร์" คืออะไร คำถามง่ายๆ ที่ตอบยาก..

แสดงแบบไม่ย่อหน้าโดยเริ่มจากคำตอบแรกสุด แสดงแบบไม่ย่อหน้าโดยเริ่มจากคำตอบล่าสุด แสดงแบบมุมมองสัมพันธ์ แสดงแบบย่อหน้าเชื่อมโยงการตอบ


"คณิตศาสตร์" คืออะไร คำถามง่ายๆ ที่ตอบยาก..
โดย
Nopparat - พฤหัสบดี, 29 มิถุนายน 2006, 01:27AM

คณิตศาสตร์
ชื่อย่อ:Mathematics
คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง, และปริภูมิ กล่าวคร่าวๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน." เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์.
คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ. คำนี้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า mathematics มาจากคำภาษากรีก (mathema) แปลว่า "วิทยาศาสตร์, ความรู้, และการเรียน" และคำว่า (mathematiks) แปลว่า "รักที่จะเรียนรู้". ในอเมริกาเหนือนิยมย่อ mathematics ว่า math ส่วนประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษนิยมย่อว่า maths.
ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ผ่านทางการวิจัยและการประยุกต์ใช้ คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมืออันหนึ่งของวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การคิดค้นทางคณิตศาสตร์ไม่จำเป็นต้องมีเป้าหมายอยู่ที่การนำไปใช้ทางวิทยาศาสตร์ (ดู คณิตศาสตร์บริสุทธิ์ และคณิตศาสตร์ประยุกต์)
โครงสร้างต่างๆ ที่นักคณิตศาสตร์สนใจและพิจารณานั้น มักจะมีต้นกำเนิดจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะฟิสิกส์ และเศรษฐศาสตร์. ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน ยังเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการสื่อสาร อีกด้วย.
เนื่องจากคณิตศาสตร์นั้นใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ ซึ่งทำให้กิจกรรมทุกอย่างกระทำผ่านทางขั้นตอนที่ชัดเจน เราจึงสามารถพิจารณาคณิตศาสตร์ว่า เป็นระบบภาษาที่เพิ่มความแม่นยำและชัดเจนให้กับภาษาธรรมชาติ ผ่านทางศัพท์และไวยากรณ์บางอย่าง สำหรับการอธิบายและศึกษาความสัมพันธ์ทั้งทางกายภาพและนามธรรม. ความหมายของคณิตศาสตร์นั้นยังมีอีกหลายมุมมอง ซึ่งหลายอันถูกกล่าวถึงในบทความเกี่ยวกับปรัชญาของคณิตศาสตร์.
คณิตศาสตร์ยังถูกจัดว่าเป็นศาสตร์สัมบูรณ์ โดยจำไม่เป็นต้องมีการอ้างถึงใดๆ จากโลกภายนอก. นักคณิตศาสตร์กำหนดและพิจารณาโครงสร้างบางประเภท สำหรับใช้ในคณิตศาสตร์เองโดยเฉพาะ, เนื่องจากโครงสร้างเหล่านี้ อาจทำให้สามารถอธิบายสาขาย่อยๆ หลายๆ สาขาได้ในภาพรวม หรือเป็นประโยชน์ในการคำนวณพื้นฐาน.
นอกจากนี้ นักคณิตศาสตร์หลายคนก็ทำงานเพื่อเป้าหมายเชิงสุนทรียภาพเท่านั้น โดยมองว่าคณิตศาสตร์เป็นศาสตร์เชิงศิลปะ มากกว่าที่จะเป็นศาสตร์เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ (ดังเช่น จี. เอช. ฮาร์ดี ที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ A Mathematician's Apology); แรงผลักดันในการทำงานเช่นนี้ มีลักษณะไม่ต่างไปจากที่กวีและนักปรัชญาได้ประสบ และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวว่า คณิตศาสตร์เป็นราชินีของวิทยาศาสตร์ ในหนังสือ Ideas and Opinions ของเขา.
องค์ความรู้ในคณิตศาสตร์รวมกันเป็นสาขาวิชา หลักการเบื้องต้นที่เริ่มจากเลขคณิตไปยังการประยุกต์ใช้งานพื้นฐานของสาขาคณิตศาสตร์ ที่รวมพีชคณิต เรขาคณิต ตรีโกณมิติ สถิติศาสตร์ และแคลคูลัส เป็นหลักสูตรแกนในการศึกษาขั้นพื้นฐาน แม้ว่าจะได้มีการพัฒนาและขยายขอบเขตไปอย่างมากมายในช่วงเวลาหลายร้อยปี สาขาวิชาคณิตศาสตร์ยังคงถูกจัดว่าเป็นสาขาวิชาเดี่ยว ที่มีลักษณะแตกต่างจากสาขาอื่นๆ

วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551



ออกัสตา แอดา ไบรอน
เอด้า ไบร่อน (Lady Augusta Ada Byron, Coutress of Lovelace) เป็นบุตรสาวของ ลอร์ด ไบร่อน (Lord Byron) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) ในกรุงลอนดอน ผู้คนรู้จักเธอในนามของท่านผู้หญิงเลิฟเลซ ท่านลอร์ดไบรอน บิดาของเธอซึ่งเป็นกวีที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ และแอนนาเบล มิลแบงค์ มารดาของเธอซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์ หลังจากเธอเกิดไม่นาน พ่อแม่ของเธอก็แยกทางกัน แม่ของเอด้า จึงตัดสินใจเลี้ยงดูเธอให้เป็นผู้หญิงสมัยใหม่ และให้ศึกษาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ต่างไปจากเลดี้ในตระกูลใหญ่ๆ ของอังกฤษทั่วไป พออายุ 17 ปี ก็มีผู้แนะนำให้เอด้ารู้จัก Mrs. Somerville แห่งเคมบริดจ์ ผู้หญิงเก่งแห่งยุค ที่เคยแปลงานของ Laplace มาเป็นภาษาอังกฤษ เอด้าจึงเข้ามาคลุกคลีกับเพื่อนกลุ่มนี้ จนได้รู้จักกับ ชาร์ลส แบบเบจ ในงานสังสรรค์แห่งหนึ่ง ในที่สุด ในงานวันนั้น ตอนที่แบบเบจกล่าวว่า "what if a calculating engine could not only foresee but could act on that foresight" (จะเป็นอย่างไร ถ้าหากเครื่องคำนวณไม่เพียงสามารถหยั่งรู้ได้ หากแต่สามารถตอบสนองต่อการหยั่งรู้นั้นได้ด้วย) ไม่มีใครสนใจแนวคิดนี้ของแบบเบจเลย ยกเว้นเอด้า ซึ่งเธอรู้สึกสนใจในงานนี้เป็นอย่างมาก จนอาสาที่จะช่วยพัฒนา โดยสิ่งที่เธอทำคือ การสร้างภาษาสำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของแบบเบจ มารดาของแอดาเกรงว่าเธอจะเติบโตแล้วเป็นกวีเหมือนพ่อของเธอ มารดาของเธอจึงพยายามสอนและปลูกฝังให้แอดาเป็นนักคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ แอดาได้รับการศึกษาด้านคณิตศาสตร์จากครูส่วนตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่นับว่าแปลกในขณะนั้น โดยเฉพาะในเด็กสาวแล้ว ในสมัยนั้นสตรีผู้ได้รับการศึกษาทางด้านนี้ค่อนข้างจะหาได้ยาก เธอได้เรียนเรื่องพีชคณิต, ตรรกวิทยา และแคลคูลัส แต่ถึงมารดาของเธอก็ยังพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้มั่นใจว่าแอดาจะไม่เป็นกวีเหมือนพ่อ แต่แอดาก็ยังมีเลือดของความเป็นกวีอย่างชัดเจน เพราะนอกจากเธอจะรักและเข้าใจในบทกวีอย่างลึกซึ้งแล้ว บทกวีก็ยังทำให้เธอสามารถเข้าใจในคณิตศาสตร์อย่างถ่องแท้ยิ่งขึ้นด้วย เหตุการณ์ที่ทำให้เธอกลายเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงได้เริ่มต้นขึ้นในงานปาร์ตี้แห่งหนึ่ง เมื่อเธออายุเพียง 17 ปี เธอได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องคำนวณของชาร์ลส์ แบบเบจ ชาร์ลส์ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล เขามีความคิดที่จะสร้างเครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่สามารถคำนวณได้เองอย่างอัตโนมัติและมีขั้นตอนที่ถูกต้องแม่นยำ ซึ่งในขณะนั้นแนวทางนี้เป็นการปฏิวัติทางความคิดที่สำคัญ แอดารู้สึกประทับใจในแนวความคิดนี้และเฝ้าติดตามการทำงานของเขาอย่างใกล้ชิดอยู่หลายปี แบบเบจได้ทำงานตามแผนงานที่เขาได้วางไว้ และได้มีการรายงานความคืบหน้าในการสัมมนา ณ เมืองตูริน ประเทศอิตาลีใน ค.ศ. 1840 นอกจากนี้ยังได้มีการตีพิมพ์สรุปเนื้อหาไว้ด้วยภาษาฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 1843 แอดาได้แต่งงานและมีลูก 3 คน เธอได้แปลบทความที่เป็นภาษาฝรั่งเศสนี้ เมื่อเธอนำบทความที่แปลแล้วไปให้แบบเบจดู แบบเบจแนะให้เธอเติมข้อมูลของเธอด้วย ปรากฏว่าเมื่อแปลเสร็จ บทความนั้นยาวกว่าต้นฉบับถึง 3 เท่าโดยที่แอดามีความคิดเห็นและทำนายว่าเครื่องคำนวณนี้จะสามารถใช้ในการเรียบเรียงดนตรี, ทำภาพกราฟิก และใช้ประโยชน์ในทางวิทยาศาสตร์ได้ด้วย และหากเราได้ลองพิจารณาดูก็จะพบว่าคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับที่แอดาได้ทำนายไว้ครบถ้วน ไม่ผิดเพี้ยนเลยแม้แต่น้อย แอดามีความคิดเห็นสอดคล้องกับแบบเบจมาโดยตลอดและหลายคนเชื่อว่าเธอมีส่วนในการเขียน หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นผู้ที่ชี้ชวนให้แบบเบจเขียนแผนว่าเครื่องจักรของเขาจะสามารถคำนวณตัวเลขเบอนูลีได้อย่างไร ซึ่งข้อมูลนี้ถือเป็นแนวทางสำคัญในการกำเนิดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แอดาเสียชีวิตเมื่ออายุประมาณ 36 ปีต้นๆ เช่นเดียวกับพ่อของเธอ เธอสนใจหลายสิ่งหลายอย่างตั้งแต่ดนตรีไปจนถึงการขี่ม้า รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณ ด้วยความฉลาด ความสวยและบุคลิกภาพที่มีเสน่ห์ของเธอจึงทำให้เธอได้รับความสนใจอย่างมากในวงสังคมไม่เว้นแม้กระทั่งในวงการของผู้ที่สนใจคอมพิวเตอร์ อีกร้อยกว่าปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ สร้างภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐาน ISO ขึ้นมาตัวแรก พร้อมตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ เลดี้ เอด้า ว่า ภาษา "ADA" ในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ เอด้าได้รู้จัก และอาสาช่วยงาน พร้อมทั้งอุปการะ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ รวมทั้งนักเขียนหลายคน เช่น Sir David Brewster คนคิดคาไลโดสโคป, Charles Wheatstone, ชาร์ลส ดิกเก้นส์, และ ไมเคิล ฟาราเดย์


นิโคลาส โคเปอร์นิคัส : Nicolas Copernicus
นิโคลาส โคเปอร์นิคัส Nicolas Copernicus 9 กุมภาพันธ์ 2016 (ค.ศ.1473) วันเกิดของ”นิโคลาส โคเปอร์นิคัส NICOLAUS COPERNICUS”นายแพทย์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ เป็นชาวโปล เกิดที่เมืองตุรัน ประเทศโปแลนด์ ในสมัยของเขานั้นนักดาราศาสตร์ทั้งหลายเชื่อตามทฤษฎีที่”ปโตเลมี”ตั้งไว้ราว 1,400 ปีมาแล้วว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลและไม่เคลื่อนที่ แต่”โคเปอร์นิคัส COPERNICUS”เป็นบุคคลแรกที่กล่าวถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการหมุนของระบบสุริยะว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยะจักรวาล มีโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆหมุนอยู่โดยรอบ จึงถือกันว่าเขาเป็นบิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่”โคเปอร์นิคัส COPERNICUS”ศึกษาวิชาแพทย์ รวมไปถึงคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ที่คราเครา หลังสำเร็จการศึกษาเขาได้เดินทางไปยังอิตาลี ที่นั่นเขาศึกษาเกี่ยวกับดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ และทดลองเรื่องวิทยาศาสตร์แนวใหม่ว่าด้วยการมองเห็น เขาสร้างกล้องส่องทางไกลง่ายๆขึ้นเป็นชิ้นแรก แม้จะไม่ได้ใช้มันในการส่องท้องฟ้าก็ตาม ในอีกเกือบหนึ่งศตวรรษถัดมา “กาลิเลโอ GALILEO”เป็นผู้ที่ใช้กล้องโทรทัศน์ส่องดูท้องฟ้าเป็นคนแรก เมื่อกลับสู่”พอเมอราเนีย”ในปี ค.ศ.1505 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแพทย์แทนลุงของเขา นักดาราศาสตร์ตะวันตกเชื่อตามทฤษฎีของ”ปโตเลมี”ที่คิดขึ้นในปี 150 และมีพื้นฐานจากหลักของ”อริสโตเติล”มาตลอดคือ เชื่อว่าดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ และดาวเคราะห์ ล้วนหมุนรอบโลก และโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล จนกระทั่งเขาพิสูจน์ว่า ที่จริงแล้วเป็นตรงกันข้าม การศึกษาของ”โคเปอร์นิคัส COPERNICUS”ในช่วง 25 ปีแรกทำให้เขาเชื่อว่าการทำงานของจักรวาลนั้นไม่ซับซ้อนอย่างที่นักดาราศาสตร์ยุคกลางเคยคิดกัน และดวงอาทิตย์ก็เป็นศูนย์กลางของสุริยะจักรวาล ในขณะที่โลกและดาวเคราะห์อื่นๆ หมุนรอบดวงอาทิตย์ ผลงานของเขาชื่อ ON THE REVOLUTION OF THE CELESTIAL SPHERES เสร็จเมื่อปี 1530 แต่เนื่องจากศาสนจักรโรมันคาทอลิกเป็นปรปักษ์กับทฤษฎีของเขา หนังสือจึงไม่ได้ตีพิมพ์จนกระทั่งปีที่เขาเสียชีวิต ศาสนจักรยังคงปฏิเสธการค้นพบของเขาต่อมานานถึง 100 ปี เขาถูกหาว่าเป็นพวกนอกรีต ศาสนจักรเปลี่ยนความเห็นในปลายศตวรรษที่ 17 หลังจากการสังเกตของ”กาลิเลโอ” และทฤษฎีของ”โยฮันเนส เคปเลอร์ KEPLER” ที่ว่าดาวเคราะห์เคลื่อนที่เป็นวงรีได้ยืนยันทฤษฎีของ”โคเปอร์นิคัส COPERNICUS” โคเปอร์นิคัส มิได้ใช้ความรู้ความสามารถทางการแพทย์ที่ไดศึกษามาแม้แต่น้อย แต่เขาเคยเป็นพระอยู่ระยะหนึ่งและเป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งโรม ประเทศอิตาลี ก่อนที่จะทุ่มเทศึกษาค้นคว้าทางดาราศาสตร์อย่างจริงจัง โคเปอร์นิคัสเป็นนักดาราศาสตร์ที่ไม่เคยใช้กล้องดูดาวเลย เพราะว่าสมัยนั้นยังไม่มีการคิดค้นขึ้นใช้ เขาจึงสร้างเครื่องมือสำหรับใช้ศึกษาดวงอาทิตย์และดวงดาวทั้งหลายขึ้นเอง จากนั้นก็ใช้อุปกรณ์นี้เฝ้าสังเกตการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุบนฟากฟ้า กลางวันสังเกตดวงอาทิตย์ กลางคืนสังเกตดวงดาว พร้อมกับจดบันทึกไว้อย่างละเอียด โคเปอร์นิคัสเฝ้าสังเกต ศึกษาค้นคว้า และทดลอง ด้วยความอุตสาหะวิริยะ อย่างอดทนอยู่นานถึงสามสิบปี จึงได้รวบรวมบันทึกการศึกษาค้นคว้าเขียนขึ้นเป็นหนังสือชื่อ "การปฏิวัติวงโคจรของดวงดาวในจักรวาล" ซึ่งกล่าวถึงทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาลที่เข้าค้นพบว่า "ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีโลกและดาวเคราะห์ทั้งหลายเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์" นับว่าขัดแย้งกับความเชื่อในสมัยนั้นว่า "โลกเป็นศูนย์กลางของจักร วาล" และเป็นความเชื่อทางศาสนาด้วย และสมัยนั้นประเทศในยุโรปอยู่ใต้อำนาจอันแข็งแกร่งของ ศาสนาจักร เพราะฉะนั้นความเชื่อและความคิดเห็นใดๆ ที่ขัดแย้งกับความเชื่อทางศาสนาจึงเป็นความผิดอย่างร้ายแรงด้วยเหตุนี้ โคเปอร์นิคัสนี้จึงไม่กล้านำผลงานออกเผยแพร่ จนกระทั่งเพื่อนสนิทคนหนึ่งจัดการนำไปพิมพ์ได้สำเร็จก่อนหน้าที่เขาจะเสียชีวิตเพียงไม่กี่ชั่วโมง ถึงกระนั้น เมื่อหนังสือของเขาออกเผยแพร่ ทางศาสนาจักรได้ประกาศห้ามผู้คนเชื่อตามความเห็นในหนังสือของเขามิฉะนั้นจะถูกลงโทษอย่างหนัก นิโคลาส โคเปอร์นิคัส ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543 อายุได้ 70 ปี เขาได้รับความยกย่องว่าเป็นผู้ค้น พบตำแหน่งของโลกที่ถูกต้องแท้จริง นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีความวิริยะอุตสาหะสูงยิ่ง สมกับเป็นบุคคลสำคัญของโลกผู้หนึ่ง


กาลิเลโอ กาลิเลอี : Galileo Galilei

- เกิด วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 ที่เมืองปิซา (Pisa) ประเทศอิตาลี (Italy) - เสียชีวิต วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1642 ที่เมืองฟลอเรนซ์ (Florence) ประเทศอิตาลี (Italy) ผลงาน - ค.ศ. 1584 ตั้งกฎเพนดูลัม (Pendulum) หรือกฎการแกว่างของนาฬิกาลูกตุ้ม - ค.ศ. 1585 ตีพิมพ์หนังสือชื่อว่า Kydrostatic Balance และ Centre of Gravity - ค.ศ. 1591 พิสูจน์ทฤษฎีของอาริสโตเติลที่ว่าวัตถุที่มีน้ำหนักเบาว่าผิด อันที่จริงวัตถุจะตกถึงพื้นพร้อมกันเสมอ - พัฒนากล้องโทรทรรศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถส่องดูดาว บนจักรวาลได้ - พบลักษณะพื้นผิวของดวงจันทร์ - พบว่าดาวมีหลายประเภท ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ได้แก่ ดาวเคราะห์ และดาวฤกษ์ - พบทางช้างเผือก (Milky Way) - พบบริวารของดาวพฤหัสบดี ว่ามีมากถึง 4 ดวง - พบวงแหวนของดาวเสาร์ ซึ่งปากฎว่ามีสีถึง 3 สี - พบว่าพื้นผิวของดาวศุกร์มีลักษณะคล้ายกับดวงจันทร์ - พบจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sun Spot) - พบดาวหาง 3 ดวง
กาลิเลโอเป็นนักวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของโลก โดยเฉพาะผลงานด้านดาราศาสตร์เป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุด การทดลองและการค้นพบของเขามีประโยชน์มากมายหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ เช่น พบจุดดับบนดวงอาทิตย์ พบบริวารของดาวพฤหัสบดี เป็นต้น การพบลักษณะการแกว่งของวัตถุซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นเครื่องจับเวลา และนาฬิกาลูกตุ้ม อีกทั้งการที่เขาสามารถพัฒนาสร้างกล้องโทรทรรศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้วิชาการด้านดาราศาสตร์มีความเจริญก้าวหน้า อีกทั้งเขายังเป็นบุคคลที่มีความกล้าหาญอย่างมากในการเสนอแนวความคิด ต่าง ๆ เกี่ยวกับทฤษฎีดั้งเดิมที่ผิดของอาริสโตเติล ซึ่งนำความเดือดร้อนมาให้กับเขาเอง ทั้งการถูกต้องขังและถูก กล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตต่อต้านคำสั่งสอนทางศาสนา ซึ่งเกือบจะต้องเสียชีวิตถ้าเขาไม่ยอมรับความผิดอันนี้ แม้ว่าเขาจะต้อง ยอมรับผิด แต่เขาก็ไม่หยุดทำการค้นคว้าและการทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่อไป กาลิเลโอมักมีแนวความคิดที่แตกต่างไปจากคนอื่นเสมอ เขาจะไม่ยอมเชื่อทฤษฎีต่าง ๆ ที่ได้รับการเผยแพร่ออกมาทั้งในอดีตและในยุคนั้น กาลิเลโอต้องทำการทดลอง เสียก่อนที่จะเชื่อถือในทฤษฎีข้อนั้น และด้วยนิสัยเช่นนี้ทำให้เขาได้รับฉายาว่า The Wrangler ฉายาของกาลิเลโออันนี้ในปัจจุบัน ได้ใช้หมายถึง "ผู้เชี่ยวชาญ" ในมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด (Oxford University) และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์(Cambridge University) กาลิเลโอเกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 ที่เมืองปิซา ประเทศอิตาลี บิดาของเขาเป็นขุนนาง นักคณิตศาสตร์ นักดนตรีและนักเขียน ที่มีชื่อเสียงอยู่พอสมควร บิดาของเขามีชื่อว่า วินเซนซิโอ กาลิเลอี (Vincenzio Galilei) กาลิเลโอเข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่เมืองปิซานั่นเอง กาลิเลโอเป็นนักเรียนที่เฉลียวฉลาด และมีความสามารถหลายด้าน ทั้งวาดภาพ เล่นดนตรี และคณิตศาสตร์ บิดาของกาลิเลโอต้องการให้เขาศึกษาต่อในวิชาแพทย์ ด้วยเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่อง กาลิเลโอได้ปฏิบัติตามที่บิดาต้องการ คือ เข้าเรียนในวิชาการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยปิซา (Pisa University) แต่กาลิเลโอมีความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์มากกว่า จนกระทั่งครั้งหนึ่งกาลิเลโอมีโอกาสได้เข้าฟังการบรรยายวิชาคณิตศาสตร์ ทำให้เขาเลิกเรียนวิชาแพทย์ และไปเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์แทน การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกของกาลิเลโอเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1584 เมื่อเขากำลังนั่งฟังสวดมนต์อยู่ในโบสถ์แห่งหนึ่ง เขาสังเกตเห็นโคมแขวนบนเพดานโบสถ์แกว่างไปแกว่างมา เขาจึงเกิดความสงสัยว่าการแกว่งไปมาของโคมในแต่ละรอบใช้เวลา เท่ากันหรือไม่ ดังนั้นเขาจึงทดลองจับเวลาการแกว่งไปมาของโคม โดยเทียบกับชีพจรของตัวเอง เนื่องจากเขาเคยเรียนวิชาแพทย์ ทำให้เขารู้ว่าจังหวะการเต้นของชีพจรของคนในแต่ละครั้งนั้นใช้เวลาเท่ากัน ผลปรากฎว่าไม่ว่าโคมจะแกว่งในลักษณะใดก็แล้วแต่ ระยะเวลาในการแกว่งไปและกลับครบ 1 รอบ จะเท่ากันเสมอ เมื่อเขากลับบ้านได้ทำการทดลองแบบเดียวกันนี้อีกหลายครั้ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าทฤษฎีที่เขาจะตั้งขึ้นถูกต้องที่สุด ซึ่งผลการทดลองก็เหมือนกันทุกครั้ง กาลิเลโอได้ตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่ากฎเพนดูลัม (Pendulum) หรือ กฎการแกว่งของนาฬิกาลูกตุ้ม กาลิเลโอได้นำหลักการจากการทดลองครั้งนี้มาสร้างเครื่องจับเวลาซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1656 คริสเตียน ฮฮยเกนส์ (Christian Huygens) ได้นำทฤษฎีนี้มาสร้างนาฬิกาลูกตุ้ม ต่อมาในปี ค.ศ. 1585 กาลิเลโอได้ลาออกจากมหาวิทยาลัย เพราะไม่มีเงินพอสำหรับการเรียนต่อ เขาได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ (Florence) และได้เข้าศึกษาต่อที่สถาบันฟลอเรนทีน (Florentine Academy) ในระหว่างนี้กาลิเลโอ ได้เขียนหนังสือขึ้นมา 2 เล่ม เล่มแรกชื่อว่า Hydrostatic Balance เป็นเรื่องเกี่ยวกับตาชั่ง ส่วนอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Centre of Gravity เป็นเรื่องเกี่ยวกับจุดศูนย์ถ่วงของของแข็ง เล่มที่ 2 นี้เขาเขียนเนื่องจากมาร์เชส กวิดูบาลโด เดล มอนเต แห่งเปซาโร(Marchese Guidubald Del Monte of Pasaro) ซึ่งเป็นผู้ที่มีพระคุณต่อเขา ขอร้องให้เขียนขึ้น จากหนังสือทั้ง 2 เล่มนี้เองทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น และในปี ค.ศ. 1588 กาลิเลโอได้รับการติดต่อให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชา คณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยปิซา ในปี ค.ศ. 1591 ระหว่างที่กาลิเลโอเข้าทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยปิซา เขาได้นำทฤษฎีของอาริสโตเติล มาทดสอบเพื่อหาข้อเท็จจริง ทฤษฎีที่ว่านี้ คือ ทฤษฎีที่มีน้ำหนักมากกว่าจะตกถึงพื้นก่อนวัตถุที่มีน้ำหนักเบา แต่เมื่อกาลิเลโอทดลองแล้วปรากฏว่าวัตถุที่มีน้ำหนักมากและวัตถุที่มีน้ำหนักเบา จะตกถึงพื้นพร้อมกัน แต่การที่อาริสโตเติล สรุปทฤษฎีเช่นนี้เป็นผลเนื่องมาจากอากาศได้ช่วยพยุงวัตถุที่มีน้ำหนักเบาได้มากกว่าวัตถุที่มีน้ำหนักมากกว่า แต่ถ้าทำการทดลอง ในสุญญากาศจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าวัตถุตกถึงพื้นพร้อมกัน กาลิเลโอได้นำความจริงข้อนี้ไปชี้แจงกับทางมหาวิทยาลัย ผลปรากฏว่า มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เขาจึงทำการทดลองอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ทุกคนเห็นอย่างชัดเจน โดยนำก้อนตะกั่ว 2 ก้อน ก้อนหนึ่งหนัก 10 ปอนด์ อีกก้อนหนึ่งหนัก 20 ปอนด์ ทิ้งลงมาจากหอเอนปิซาพร้อมกัน ผลปรากฏว่าก้อนตะกั่วทั้ง 2 ก้อนตกถึงพื้นพร้อมกัน จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีของอาริสโตเติลผิด และของกาลิเลโอถูกต้อง แต่ถึงอย่างนั้นกลุ่มคนที่ยึดถือทฤษฎีของ อาริสโตเติลอย่างเหนียวแน่นก็ยังไม่เชื่อกาลิเลโออยู่ดี อีกทั้งหาทางกลั่นแกล้งจนกาลิเลโอ ต้องลาออกจากมหาวิทยาลัยปิซาหลังจากที่กาลิเลโอลาออกจากมหาวิทยาลัยปิซาแล้ว เขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย ปาดัว (Padua University) ในระหว่างนี้กาลิเลโอได้ทำการทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์หลายเรื่อง เริ่มตั้งแต่ ทำการทดลองเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตกของวัตถุ ซึ่งเขาพบว่าในระหว่างที่วัตถุตกลงสู่พื้นนั้น ความเร็วของวัตถุจะเพิ่มขึ้นทุกวินาที การทดลองนี้ทางการทหารได้นำไปใช้ในการคำนวณหาเป้าหมายของลูกปืนใหญ่ หลักเกณฑ์ทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ ของวัตถุนี้ทำให้ เกิดวิชาที่เรียกว่า "พลศาสตร์ (Dynamic)" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชากลศาสตร์ กาลิเลโอมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องดาราศาสตร์อย่างมาก แต่ไม่สามารถศึกษาได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากขาดอุปกรณ์ในการศึกษาค้นคว้า ต่อมาในปี ค.ศ. 1608 มีข่าวว่าช่างทำแว่นตาชาวฮอลแลนด์ สามารถประดิษฐ์กล้องส่องทางไกลขนาดเล็กได้เป็นผลสำเร็จ ต่อมาในปี ค.ศ. 1610 กาลิเลโอจึงนำหลักเกณฑ์เดียวดันนี้มาสร้างเป็นกล้องโทรทรรศน์ขึ้นเป็นครั้งแรกแต่กล้องโทรทรรศน์ที่เขาประดิษฐ์ขึ้นในครั้งแรกมีกำลังขยายเพียง 3 เท่า เท่านั้น ต่อมาเขาได้ปรับปรุงกล้องโทรทรรศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีกำลังขยายมากถึง 32 เท่า ซึ่งกล้องอันนี้สามารถส่องดูดวงดาวต่าง ๆ ในจักรวาลได้อย่างชัดเจน สิ่งที่กาลิเลโอได้พบเห็นจากกล้องโทรทรรศน์ เขาได้บันทึกลงในหนังสือเล่มหนึ่ง และตีพิมพ์เผยแพร่ออกมาในปีเดียวกัน โดยใช้ชื่อหนังสือว่า Sederieus Nuncius หมายถึง ผู้นำสารจากดวงดาว ภายในหนังสือเรื่องนี้มีรายละเอียดดังนี้ - ผิวของดวงจันทร์ ซึ่งปรากฏว่าไม่เรียบเหมือนอย่างที่มองเห็น แต่มีหลุม หุบ เหว และภูเขาใหญ่น้อย จำนวนมาก - พบว่าดาวมีหลายประเภท ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ได้แก่ ดาวเคราะห์ คือ ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง เช่น โลก ดาวพุธ และดวงจันทร์ เป็นต้น และดาวฤกษ์ คือ ดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง เช่น ดวงอาทิตย์ เป็นต้น - พบทางช้างเผือก (Milky Way) ซึ่งมีลักษณะเป็นทางขาว ๆ ดูคล้ายหมอก บาง ๆ พาดผ่านไปบนท้องฟ้า ทางช้างเผือก เกิดจากแสงของกลุ่มดาวฤกษ์ ซึ่งมีความหนาแน่นมาก - เนบิวลา (Nebula) คือ กลุ่มก๊าซ และวัตถุต่าง ๆ ซึ่งมีการรวมตัวกันอย่าง หนาแน่น - พบวงแหวนของดาวเสาร์ แต่กาลิเลโอไม่ได้เรียกว่าวงแหวน ต่อมาในปี ค.ศ. 1655 ฮอยเกนส์ได้พิสูจน์ว่าเป็นวงแหวน และเรียกว่า "วงแหวนของ ดาวเสาร์ (Saturn's Ring)" - พบบริวารของดาวพฤหัสบดีว่ามีมากถึง 4 ดวง กาลิเลโอได้ตั้งชื่อดาว บริวารของดาวพฤหัสบดีว่า ซีเดรา เมดิซี (Sidera Medicea) เพื่อเป็น เกียรติแก่ ดยุคแห่งทัสคานี คอซิโมที่ 2 (Duke of Tuscany Cosimo II) ผู้ ซึ่งเป็นทั้งลูกศิษย์ และเจ้านายของเขาในเวลาต่อมา และจากการค้นพบ ครั้งนี้ กาลิเลโอได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ และภายหลังจากการศึกษา กาลิเลโอได้ตั้งทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์ กลางของสุริยจักรวาล และโลกต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์ - พบว่าพื้นผิวของดาวศุกร์มีลักษณะคล้ายกับดวงจันทร์ - พบจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sun Spot) จากการค้นพบครั้งนี้กาลิเลโอได้เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Letter on the Solar Spot ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับจุดดับบนดวงอาทิตย์ และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการโคจรของดวงดาวในระบบสุริยจักรวาล ว่าอันที่จริงแล้วดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ของสุริยจักรวาล อีกทั้งโลกและดาวดวงอื่น ๆ ต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์การค้นพบทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอครั้งนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีนั้นก็คือทำให้วิชาการด้านดาราศาสตร์มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นไปอีกก้าวหนึ่ง อีกทั้งชื่อเสียงของ กาลิเลโอก็เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น เขาได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งนักปราชญ์ประจำราชสำนักของท่านแกรนด์ดยุคแห่งทัสคานี (Grand Duke of Tuscany) ส่วนข้อเสียเป็นสิ่งที่ส่งผลร้ายอย่างมากต่อกาลิเลโอ คือ ทฤษฎีของกาลิเลโอขัดแย้งกับหลักศาสนา และทฤษฎีของอาริสโตเติลที่มีผู้เชื่อถือมากในขณะนั้น แม้ว่ากาลิเลโอจะนำกล้องโทรทรรศน์มาตั้งให้ทุกคน ได้ทดลองส่องดู ซึ่งทุกคนก็เห็นเช่นเดียวกับที่กาลิเลโอบอกไว้ แต่ถึงอย่างนั้นกลุ่มคนที่มีความเชื่อถือในทฤษฎีของอาริสโตเติล ก็ยังไม่เห็นด้วยกับกาลิเลโอ และกล่าวหากาลิเลโอว่าต่อต้านศาสนา ทำให้กาลิเลโอได้รับคำสั่งจากศาสนจักรให้หยุดแสดง ความคิดเห็นที่ขัดแย้งต่อหลักศาสนา หลังจากนั้นกาลิเลโอได้เดินทางไปยังเมืองฟลอเรนซ์ และอยู่ที่นี่เป็นเวลานานถึง 7 ปี และในระหว่างนี้ เขาได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับดาราศาสตร์ และในปี ค.ศ. 1618 กาลิเลโอได้พบดาวหางถึง 3 ดวง และได้พบความจริง เกี่ยวกับดาวหางที่ว่า ดาวหางเป็นดาวฤกษ์ชนิดหนึ่งเช่นกัน แสงที่เกิดนี้เกิดจากแสงของดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับรุ้งกินน้ำ กาลิเลโอได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ลงในหนังสือชื่อว่า Saggiatore แต่ทฤษฎีข้อนี้ของกาลิเลโอ ผิดพลาด ใน ปี ค.ศ. 1632 กาลิเลโอได้เขียนหนังสือขึ้นมาอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Dialogo Del Due Massimi Sistemi Del Mondoแต่เพื่อหลีกเลี่ยงข้อความที่ต่อต้านกับหลักศาสนา กาลิเลโอจึงเขียนขึ้นในเชิงบทละคร ซึ่งมีตัวเอกด 2 ตัว สนทนา เกี่ยวกับทฤษฎีของปโตเลมี และโคเปอร์นิคัส แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสอยู่ดี ทำให้เขาถูกต่อต้านอย่างหนักอีกทั้งหนังสือเล่มนี้ก็ถูกห้ามมิให้จำหน่ายในประเทศอิตาลีอีกด้วย ส่วนตัวเขาถูกสอบสวนและต้องโทษจำคุกเพื่อให้สำนึกบาปที่ คัดค้านคำสอนในคริสต์ศาสนา ต่อมาเขาถูกบังคับให้กล่าวคำขอโทษ เพื่อแลกกับอิสระและชีวิตของเขา แม้ว่าเขาจะถูกปล่อยตัวออกจากคุก แต่เขาก็ยังต้องอยู่ในความควบคุมของอัสคานิโอ ปิคโคโรมินิ (Ascanio Piccoromini) บาทหลวงผู้หนึ่งซึ่งในระหว่างนี้เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับฟิสิกส์ และตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า Disorsi เมื่อการค้นคว้าทางดาราศาสตร์ของเขามีอุปสรรค เขาจึงหันมาทำการค้นคว้าเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์แทน กาลิเลโอได้ประดิษฐ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ขึ้นหลายชิ้น ได้แก่ นาฬิกาน้ำ ไม้บรรทัด และเทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer) เป็นต้น และในปี ค.ศ. 1636 กาลิเลโอได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า Dialoghi Della Nuove Scienze แต่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1638 โดยเอสเซฟเวียร์ (Elzavirs) ที่เมืองเลย์เดน (Leyden) หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชากลศาสตร์ หลังจากหนังสือเล่มนี้เผยแพร่ออกไปกลับได้รับความนิยมมากกว่าหนังสือดาราศาสตร์ของเขา อีกทั้งไม่ถูกต่อต้านจากศาสนาจักรอีกด้วย ในช่วงสุดท้ายของชีวิต กาลิเลโอได้ค้นคว้า และเฝ้ามองดูการเคลื่อนไหวของดวงดาวบนท้องฟ้า รวมถึงดวงจันทร์ด้วย กาลิเลโอได้เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของดวงจันทร์จนพบว่า ดวงจันทร์ใช้เวลา 15 วัน ในการโคจรรอบโลก ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบ ครั้งสุดท้ายของเขา เพราะหลังจากนั้นประมาณ 2 - 3 เดือน เขาก็ตาบอดและสุขภาพอ่อนแอลงเรื่อย ๆ เนื่องจากความชรา และเสีย ชีวิตในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1642 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี


ปาสคาล (Blaise Pascal)
ชื่อเต็ม ๆ ว่า Blaise Pascal ปาสคาลไม่ใช่ผู้พัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ที่ชื่อภาษาปาสคาล ปาสคาลเกิดวันที่ 16 เดือนมิถุนายน ปีค.ศ. 1623 ที่ประเทศฝรั่งเศส ช่วงที่ปาสคาลยังมีชีวิตอยู่มีระยะเวลากว่า 300 ร้อยปีก่อนที่จะมีคอมพิวเตอร์ ดร.เวียตผู้พัฒนาภาษาปาสคาลได้ตั้งชื่อภาษาให้เป็นเกียรติแก่ปาสคาล ทั้งนี้เพราะปาสคาลเป็นนักคณิตศาสตร์ผู้หนึ่งในยุคการพัฒนาวิชาคณิตศาสตร์ในช่วงศตวรรตที่ 16-17 ปาสคาลเป็นผู้มีจินตนาการและความคิดที่กว้างไกล ปาสคาลได้ศึกษาแนวคิดของยูคลิดในเรื่อง Elements ในช่วงอายุยังวัยเยาว์ เขาทำความเข้าใจหลักและทฤษฎีหลายอย่างของยูคลิดได้ก่อนอายุ 12 ปี นอกจากนี้เขามีความสนใจในเรื่องวิชาฟิสิกส์ โดยเฉพาะในเรื่องของเหลว และแรงดันของเหลว โดยนำหลักการของอาร์คีมีดีสมาใช้ จนในที่สุดเขานำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องจักรไฮดรอลิกที่มีประโยชน์อย่างมากในการยกน้ำหนัก และยังได้อธิบายหลักการของความดันของเหลว พ่อของปาสคาลทำหน้าที่เป็นหน่วยเก็บภาษีให้รัฐบาลฝรั่งเศส ครอบครัวของเขาจึงต้องยุ่งเกี่ยวกับเรื่องตัวเลขของเงินทองจำนวนมาก ด้วยความติดที่อยากจะหาเครื่องจักรเข้ามาช่วยเป็นเครื่องคำนวณคิดเลข เขาได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลขแบบกลไกขึ้น เขาใช้เวลาถึง 3 ปีในการประดิษฐ์ และสร้างขึ้นมาใช้งาน และประสบผลสำเร็จด้วยดี ปาสคาลแสดงให้เห็นความเป็นคนช่างคิด และพัฒนาอย่างดียิ่งเพียงเมื่อเขามีอายุได้ 16 ปี ปาสคาลได้เสนอผลงานวิจัยในบทความที่เขานำเสนอ ได้แก่ "Essay on Conic Sections" ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรูปตัดกรวย ที่แสดงการวิเคราะห์เชิงเรขาคณิตและคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ต่อมาปาสคาลได้มีโอกาสศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นสูงขึ้นกับแฟร์มาต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องรากฐานแคลคูลัส และทฤษฎีความน่าจะเป็น ผลงานอย่างหนึ่งที่เรารู้จักกันดีคือ สามเหลี่ยมปาสคาล ซึ่งเป็นตัวเลขที่จัดทรงเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งในชีวิตประจำวันของเราเกี่ยวข้องกับตัวเลขเหล่านี้อยู่มาก

ประวัตินักคณิตศาสตร์

วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551

คณิตศาสตร์เป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญในการคิดค้น และพัฒนาองค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของคนในประเทศ สำหรับประเทศไทย การพัฒนากำลังคนทางคณิตศาสตร์ยังต้องการพัฒนาอยู่มาก ทางโครงการค่ายวิทยาศาสตร์ถาวรจึงได้ร่วมมือกับบริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด จัดกิจกรรม “เกมคณิตศาสตร์ ฝึกทักษะกระบวนการคิด” โดยได้เชิญ Mr.Yang ซึ่งเป็นวิทยากรจากประเทศไต้หวัน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคกระบวนการคิดด้านคณิตศาสตร์ และผู้คิดค้นและเขียนหนังสือเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนให้โรงเรียนสังกัดรัฐบาลไต้หวัน นักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงด้านการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ทางกระบวนการคิดผ่านเกมคณิตศาสตร์ให้แก่ครู อาจารย์ และเยาวชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างเสริมตรรกะและความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ พัฒนาพลังสมอง และคิดแบบมีเหตุผล รวมทั้งพัฒนากำลังคนทางคณิตศาสตร์ต่อไป